~~The purpose of this research was to study weight control behaviors of undergraduate students with overweight and obesity in Srinakharinwirot University, to compare weight control behaviors of students in the difference of sex, field of study, and self weight perception, and to study the association between perceived health status, self efficacy expectations, outcome expectations and weight control behaviors of students. The self efficacy theory was applied in this study for studying the factors associated with weight control behaviors of students. The study design was survey research. The study samples were 350 undergraduate students with overweight and obesity in Srinakharinwirot University, Ongkharak Campus obtained by accidental sampling. The questionnaires were applied for data collection. Focus group discussion was conducted among 30 undergraduate students with overweight and obesity in Srinakharinwirot University, Ongkharak Campus who were willing to participate in this study. Percentage, mean, standard deviation, independent samples t-test, One-way analysis of variance, and Pearson product moment correlation coefficient were applied for data analysis. The results indicated that undergraduate students in Srinakharinwirot University had moderate level of an appropriate weight control behaviors. The weight control behaviors of students in the difference field of study and self weight perception were significantly different at the .05 level. Perceived health status, self efficacy expectations and outcome expectations were positively associated with weight control behaviors of students at the .05 level. Therefore, the self efficacy theory should be applied in each health education activities for enhancing an appropriate weight control behaviors of undergraduate students
~~การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน เปรียบเทียบพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนิสิตจำแนกตามเพศ สาขาวิชา และ การรับรู้น้ำหนักตนเอง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความคาดหวังในความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนิสิต การวิจัยนี้ได้มีการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนิสิต รูปแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน จำนวน 350 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการสนทนากลุ่มจากนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน จำนวน 30 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way analysis of variance) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง นิสิตที่มีสาขาวิชา และ การรับรู้น้ำหนักตนเองต่างกัน มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความคาดหวังในความสามารถตนเอง และความคาดหวังในผลลัพธ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนิสิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นควรมีการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองในการจัดกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมของนิสิตระดับปริญญาตรี