~~Fire can cause deaths, serious injuries, and significant damages to properties. In the past, school, temple and government offices fire occur more often than it should. The statistics show the number of fire accidents during 1989 to 2011 account for 3,479 events. Furthermore, it causes more damage among disables especially the elderly people who has a limited velocity. Hence, there is a need to assess fire risk in the nursing home. The research aims to study fire dynamics and evacuation in nursing home, the fire dynamics simulator with an evacuation option (FDS+EVac) played a major role in analyzing evacuation times and behaviors of elderly people who lived in concrete buildings width 6 meters, length 58.9 meters, height of 3.15 meters, the second floor with stairs - up and down the side of the two sides of the building, 6 rooms, each room is 52.5 square meters of living space per floor is 459.42 square meters, 2nd floor with an area of 918.84 square meters. In this simulation model based on the actual condition of the building has a total of 48 evacuees in building a solution of two ways. The results of the simulations carried out in comparison with the regulations set standards for the management and operation safety health and environment to work on the fire prevention (B.E.2555). This requires that the building be evacuated to a safe area within five minutes. The comparison showed that an elderly people took 300 seconds complied with Thai law.
~~อัคคีภัยเป็นเหตุของการเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหาย ในอดีตโรงเรียน วัด หน่วยงานราชการเกิดอัคคีภัยบ่อครั้ง จำนวนสถิติการเกิดอัคคีภัยระหว่างปี 2532 – 2554 มีจำนวนการเกิดอัคคีภัย 3,479 ครั้ง นอกจากนั้น การเกิดอัคคีภัยจะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตจำนวนมากเมื่อมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาสถานการณ์เพลิงไหม้และการอพยพหนีไฟที่อาคารบริการบ้านพักคนชราโดยใช้โปรแกรมสร้างภาพจำลองเสมือนจริงด้านพลศาสตร์อัคคีภัยและการจำลองการอพยพ (Fire Dynamics Simulation with Evacuation; FDS+Evac) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการอพยพและคาดการณ์เวลาอพยพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 58.9 เมตร มีความสูงชั้นละ 3.15 เมตร จำนวน 2 ชั้น มีบันไดขึ้น-ลงอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ด้านของอาคาร อาคารที่ใช้เป็นอาคารบริการผู้ของผู้สูงอายุ โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นห้องพัก มีห้องพักชั้นละ 6 ห้อง มีพื้นที่ในแต่ละห้อง 52.5 ตารางเมตร รวมพื้นที่ใช้สอยต่อชั้นเท่ากับ 459.42 ตารางเมตร รวมชั้น 2 มีพื้นที่เท่ากับ 918.84 ตารางเมตร ในการจำลองนี้ได้สร้างโมเดลตามสภาพจริงของอาคารมีผู้อพยพในอาคารทั้งหมด 48 คน มีทางออกจำนวน 2 ทาง ผลที่ได้จากการจำลองดำเนินการเปรียบเทียบกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องอพยพออกจากอาคารไปยังพื้นที่ปลอดภัยภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที โดยผู้สูงอายุใช้เวลาในการอพยพทั้งสิ้น 300 วินาที ซึ่งอยู่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด