~~The purpose of this study was 1) to investigate the effects of 3 social dance training programs on elderly balance. 2) to compare the effect of social dance training programs on elderly balance, before and after the 4th and 8th week of training, 3) to compare the effect of social dance training programs on elderly balance by variable social dance training programs and Gender of elderly and 4) to determine the interaction between social dance training programs and Gender of elderly Which effected on Balance. The subject of 97 were Stratified Random Sampling from member Bangkok International Dance Academy in 2015, age between 60-65 years old. The training duration was 8 weeks, 3 days per week. The elderly were tested with Balance, before training, and after training in the 4th and 8th week of training. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation One Way Analysis of Variance with Repeated Measure ANOVA and Two-way Analysis of Variance: ANOVA
Results 1) Male balance test mean scores of before the training and after training in the 4th
and 8th week of training were 38.84, 38.04, 36.11 and standard deviations were 1.24, 1.14, 1.20
respectively, Female balance test mean scores of before the training and after training in the 4th and 8th week of training were 39.05, 38.45, 35.91 and standard deviations were 1.61, 1.37, 1.45 respectively 2) When compared the Balance, before training, and after training in the 4th and 8th week, were significantly different, at .05 levels. 3) No interaction between social dance training programs and gender of elderly Which effected on balance difference were significantly different, at .05 levels. Therefore, consider the following Maineffect. 3.1) After 8th week of training with different social dance training programs. As a result,the balance of theelderly were not significantly different, at .05 levels. 3.2) After 8 week of training with different gender. As a result, the balance of the elderly were not significantly different, at .05 levels. Conclusion social dance training programs with Cha cha cha, Waltz ,Tango (1 hour per day and three days per week) for 8 weeks could improve balance.
~~การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ 3 จังหวะ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุระหว่างก่อนฝึกกับหลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อการทรงของผู้สูงอายุ ตามตัวแปรเพศและโปรแกรมการฝึก และ 4) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศกับเพศของผู้สูงอายุที่มีต่อการทรงตัว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุเพศหญิงอายุระหว่าง 60-65 ปี ของสถาบันบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล แดนซ์ สปอร์ต อคาเดมี่ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้เวลาการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบการทรงตัว ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง
ผลการวิจัย 1) ค่าเฉลี่ยการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศชายก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ สัปดาห์ที่ 8 ด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.84, 38.04, 36.11 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.24, 1.14, 1.20 ตามลำดับ ผู้สูงอายุเพศหญิงก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ สัปดาห์ที่ 8 ด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.05, 38.45, 35.91 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.61, 1.37, 1.45 ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศ จังหวะ ระหว่างก่อนฝึกกับหลังฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมการเต้นลีลาศกับเพศที่ทำให้การทรงตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงพิจารณาตัวแปรอิสระดังนี้ 3.1) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่ต่างกัน มีผลทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ผู้สูงอายุที่มีเพศต่างกัน มีผลทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศด้วยจังหวะชะ ชะ ช่า วอลซ์ แทงโก้วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วันจำนวน 8 สัปดาห์ สามารถพัฒนาการทรงตัวของผู้สูงอายุได้