JOURNAL
HAND-GRIP STRENGTH OF ELDERLY PEOPLE IN BANGKOK AND SUBURB AREA
แรงบีบมือของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง

~~The objectives of research project entitled  handgrip strength of elderly people in Bangkok and suburb area were to assess and evaluate muscle strength of elderly people in 3 age groups; 50-59 years, 60-69 years and >70 years,  to study the correlation between muscle strength and anthropometry data as well as daily health behavior. Four hundred seventy-seven  male and female subjects were voluntarily participated  in the study. Their average age was 64 years. Muscle strength was  measured by let subjects use left and right hand pinch-grip on the width adjustable digital handgrip dynamometer while arm straight as hard as possible 2 times and the highest data will be recorded. Body-height, weight, palm width and hand length, dominant hand  and daily behavior concern diseases, smoking per day, alcohol drinking per week, exercise per week were recorded.  The result showed that elderly male subjects have stronger handgrip than that of female subjects. The right handgrip data was more than that of left handgrip.   Grip strength in both male and female gradually decreased (p<0.001) in consecutive 10 years of age range. It was decreased of 10.50%  when compare between age group of 50-59 years and 60-69 years. The handgrip was further decreased of 15.50% when compare between age group of 60-69 years  and age group of more than 70 years. . The decreased of muscle strength in  male elderly  of the first 10 years of age range (between age range 50-59 and 60-69 years) was start  before female elderly at the same age range. Compared to standard norm of muscle strength, it was found that 62.9%  and  42.3% of  male and female elderly were categorized as very poor. There is no  male elderly subjects was categorized as excellence condition while 4.4%  female was categorized as excellence condition. The handgrip strength showed positive correlation with body height, weight and hand length and it showed negative correlation with diseases. The research result  recommended that  for health promotion, elderly people should do specific exercise to  increased their muscle strange as fast as possible because its  will affect  the daily behavior, diseases, and cost of  treatment in the near future.

~~การศึกษาเรื่องแรงบีบมือของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวัดและประเมินค่าความแข็งแรงในกล้ามเนื้อ ของผู้สูงอายุ สามช่วงอายุคือ 50-59 ปี 60-69 ปี และ มากกว่า 70 ปี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแข็งแรงและขนาดสัดส่วนร่างกายรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน  กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ เป็นผู้สูงอายุเพศชายและหญิงจำนวน 477 คน มีอายุเฉลี่ย 64 ปี ทำการศึกษาโดยการวัดค่าแรงบีบมือทั้งข้างซ้ายและขวาในท่าแขนตรงข้างลำตัว โดยการการออกแรงกำและบีบเครื่องวัดแรงบีบมือที่สามารถปรับความกว้างได้ตามความถนัด  2 ครั้งและทำการบันทึกค่าที่สูงที่สุด  รวมถึงการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง  วัดขนาดความกว้าง และความยาวของมือข้างที่ถนัดและสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับ โรคประจำตัว การสูบบุหรี่  การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย  ผลการศึกษาพบว่าค่าแรงบีบมือของผู้สูงอายุชายมากกว่าหญิง  แรงบีบมือทั้งเพศชายและหญิงข้างขวามีค่ามากกว่าข้างซ้าย  ค่าแรงบีบมือในเพศชายและหญิงลดลงทุกช่วง 10 ปี ของอายุ  (p <0.001)  ค่าแรงบีบมือลดลงร้อยละ 10.50 ระหว่างช่วงอายุ 50-59 ปีถึงช่วงอายุ 60-69 ปี และลดลงร้อยละ 15.50 ระหว่างช่วงอายุ 60-69ปีถึงช่วงอายุมากกว่า 70 ปี ค่าแรงบีบมือที่ลดลงในช่วงอายุ 50-59 ปี  และ 60-69 ปี  ในผู้สูงอายุเพศชายเร็วกว่าผู้หญิง  เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานพบว่าผู้สูงอายุชายร้อยละ 62.9 มีค่าความแข็งแรงจัดอยู่ในเกณฑ์แย่มาก ไม่มีผู้ที่มีความแข็งแรงดีมาก  ผู้สูงอายุหญิงมีค่าแรงบีบมือจัดอยู่ในเกณฑ์แย่มาก ร้อยละ 42.3  ดีมากร้อยละ 4.4  ค่าแรงบีบมือมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าส่วนสูง น้ำหนักและความยาวของมือ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการมีโรคประจำตัว ผลการศึกษาชี้ชัดว่าควรให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุอย่างเร่งด่วน เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลงจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเกิดโรคและค่าใช้จ่ายในการรักษาในอนาคตอันใกล้

Full Paper as PDF