JOURNAL
HEALTH PROMOTION BASED ON SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY : CASE STUDY - WOMEN GROUP OF MOO 11, TAMBON SAIMOON, AMPHOE ONGKHARAK, NAKHON NAYOK PROVINCE
การสร้างเสริมสุขภาพโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา กลุ่มสตรี ม.11 ต.ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก

~~This article was to clarify the principles of health promotion based on sufficiency economy philosophy as a guidance of the practice. The principles consisted of 1) healthy public policy, 2) creating supportive environment for health, 3) strengthening community activities, 4) developing personal skills, and 5) reorienting health services. Nowadays, health promotion is highly important to health systems. To illustrate, if Thai people can rely on themselves regarding health care, it will definitely bring about their stronger and more efficient health systems. Sufficiency economy philosophy was applied here as the main concept because it is a philosophy which was bestowed upon Thai citizens by H.M. the King for ways of living, and it has been carried on up until present. The philosophy was congruent with the procedures of health promotion and of enhancing community strength which could lead to self-sufficiency eventually both among individuals as well as those of the whole country. However, the concept of sufficiency economy philosophy was merely a method that the writer chose to apply to the current health promotion project. The results of the project “Pesticide-Free Vegetables for Living with no Cancers, by Saimoon Voluntary Women Group” indicated that 20 households of Muslim women group at Moo 11, Tambon Saimoon, Amphoe Ongkharak, NakhonNayok Province, were able to depend on themselves in the aspect of health care. They could also nurture their family members as well as inhabitants in the community. Consequently, the effectiveness of the project was successfully expanded and covered all households, with the mentioned women of the 20 leading households as the archetypes and the backbones. All of them followed sufficiency economy philosophy as a pillar, and could even extend such the effectiveness to other neighboring villagers for encouraging their own health care. By the way, there are actually plenty of other approaches that can be used as major concepts to further the project. Different forms of operations to manage health promotion can be utilized as well. Still, sufficiency economy philosophy is a good mechanism to continue health promotion for pleasant outcomes with good quality. It does make dwellers who gain benefits from the project count on themselves. Owing to the stated reasons, the writer decided to take this philosophy to manipulate the aforesaid project, and it led to the great achievements indeed.

~~บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงหลักการสร้างเสริมสุขภาพโดยมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในครั้งนี้ ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพนั้นมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1.การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy) 2.การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี (Creating Supportive Environment for Health)  3.การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthening Community Activities)  4.การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Developing Personal Skills) 5.การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ (Reorienting Health Services)  จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้การสร้างเสริมสุขภาพมีความสำคัญต่อระบบสุขภาพเป็นอย่างมาก กล่าวคือ หากประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการดูแลสุขภาพแล้วนั้นย่อมเป็นผลดีที่ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยเกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดหลักนั้น เพราะเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอด ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินงานในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งให้บุคคลสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นแนวคิดที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่การใช้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนเลือกนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในการจัดทำโครงการการสร้างเสริมสุขภาพในครั้งนี้  สำหรับผลการดำเนินงานในโครงการ “กลุ่มสตรีทรายมูลอาสา ปลูกผักปลอดสารพิษชีวิตปลอดมะเร็ง”นั้นภายหลังการจัดทำโครงการ กลุ่มสตรีชาวมุสลิม หมู่ 11 ต.ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน 20 ครัวเรือน สามารถพึ่งพาตนเอง ในการดูแลด้านสุขภาพ  ดูแลคนในครอบครัว และดูแลคนในชุมชนได้ จนสามารถขยายผลการดำเนินงานครบทุกครัวเรือนในชุมชนได้โดยมีสตรีใน 20 ครัวเรือนแรกเป็นต้นแบบและแกนนำ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดหลัก และยังสามารถขยายผลการดำเนินโครงการไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้อีกด้วย ซึ่งในการดำเนินงานในการสร้างเสริมสุขภาพนั้นยังมีอีกหลายแนวทางคิดที่จะสามารถนำมาเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินโครงการ สามารถนำแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบอื่นๆ ในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในกิจกรรมโครงการการสร้างเสริมสุขภาพที่แตกต่างกันไป แต่การนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้เป็นกลไกในการดำเนินงานทางด้านการส่งเสริมสุขภาพแล้วทำให้ได้ผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่ดีและมีคุณภาพ ทำให้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ในโครงการสามารถพึ่งพาตนเองได้ที่ผู้เขียนได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในครั้งนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพในครั้งนี้

Full Paper as PDF