JOURNAL
CONCURRENT STRENGTH AND ENDURANCE TRAINING FOR INTERMITTENT SPORT ATHLETES
การฝึกความแข็งแรงควบคู่กับความอดทนสำหรับนักกีฬาประเภทที่มีการแข่งขันแบบหนักสลับช่วง

~~Intermittent sport athletes do necessarily have a capacity in any of the areas of physical performance. Strength, muscle power and endurance as physical fitness are important. The coaches will be training athletes to develop the capability to move up and ready for the competition. Concurrent strength and endurance training is another form that is important which affect sports performance of intermittent sport athletes. Understanding the adaptation of the cardiovascular system and endurance performance as well as nerve and muscle adaptations to training and performance have given rise to more effective training interventions. Endurance interval training using an intensity at 90–95% of maximal heart rate in 3- to 8-minute bouts have proved to be effective in the development of endurance and other aspects related to sports.
While studies on training to develop strength show using high loads, few repetitions and maximal mobilisation of force in the concentric mode have proved to be effective in the development of strength, sprint and jump performance of athletes. It also enhances endurance capabilities through the development of efficient movement. Application form to apply this training to the development of athletes that have considered the challenge. Therefore, understanding and accuracy to guide for coaches and athletes use in the training of Concurrent Training between strength and endurance are important. In order to get the proper training and effective to avoid the negative aspects of the training that can occur in intermittent sport athletes.
 

~~นักกีฬาประเภทที่มีการแข่งขันแบบหนักสลับช่วง จำเป็นต้องอาศัยสมรรถภาพทางกายหลายด้าน ความแข็งแรง พลังกล้ามเนื้อและความอดทน ถือเป็นสมรรถภาพทางกายที่มีความสำคัญ ทั้งนี้ผู้ฝึกสอนจะกำหนดโปรแกรมการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนานักกีฬาให้ก้าวไปถึงขีดความสามารถสูงสุดและพร้อมสำหรับการแข่งขัน การฝึกแบบควบคู่ (Concurrent Training) ระหว่างความแข็งแรงและความอดทนเป็นการฝึกซ้อมอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อสมรรถนะทางการกีฬาของนักกีฬาที่มีการแข่งขันแบบหนักสลับช่วง (Intermittent Sport) ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของระบบไหลเวียนโลหิตและความสามารถด้านความอดทนตลอดจนการปรับตัวของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทอันเป็นผลมาจากการฝึกในรูปแบบดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า การฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความอดทนแบบหนักสลับช่วง ที่ระดับความหนัก 90-95% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เป็นเวลา 3-8 นาที และมีช่วงพักระหว่างการฝึก จะยกระดับความสามารถด้านความอดทนและสมรรถนะทางการกีฬาด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การศึกษาเกี่ยวกับการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรง แสดงให้เห็นว่า การฝึกโดยใช้น้ำหนักมาก จำนวนครั้งในการยกต่อเซตไม่มากนัก และจังหวะในการยกน้ำหนักช่วงที่กล้ามเนื้อหดตัวแบบหดสั้นเข้าด้วยความรวดเร็ว จะส่งผลต่อการพัฒนาความแข็งแรง ความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดและการกระโดดของนักกีฬา นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับความสามารถด้านความอดทนผ่านการพัฒนาในส่วนของประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว การนำเอารูปแบบการฝึกนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬานั้นถือเป็นสิ่งที่มีความท้าทาย ดังนั้นการสร้างความเข้าใจและความถูกต้องเพื่อแนะนำให้กับผู้ฝึกสอนรวมถึงนักกีฬานำไปใช้ในการกำหนดโปรแกรมการฝึกแบบควบคู่ระหว่างความแข็งแรงและความอดทนจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับผลของการฝึกซ้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลสูงสุดรวมถึงหลีกเลี่ยงผลด้านลบของการฝึกที่อาจเกิดขึ้นในนักกีฬาประเภทที่มีการแข่งขันแบบหนักสลับช่วง

Full Paper as PDF