~~The objectives of this study were to determine the size distribution of particulate matter (TSP, PM2.5-10, PM2.5) in indoor air. The associations between size distribution of particulate matter, environmental factors, total bacteria and total fungi in indoor air were estimated. The PMI Coarse impactor was used for the size distribution of particulate matter determination. The Impaction method followed the criteria of NIOSH method 0080 Bioaerosol sampling for indoor air was applied for bacteria and fungi collection. Linear regression analysis was applied for data analysis. The study results indicated that almost particulate matter in indoor air was coarse particulate (<10 micron), ranged from 0.014 to 0.056 mg/m3. Total bacteria and total fungi ranged from 82.45 – 1,707.90 CFU/m3 and 194.23 – 530.04 CFU/m3, respectively. The results from linear regression analysis revealed a negative association between air exchange rate (ACH) and total bacteria (p<.05). A positive association between temperature and total fungi was found (p<.05). The PM2.5 was negatively associated with total bacteria. Nevertheless, a significant association between size distribution of particulate matter and total fungi was not found.
~~การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณอนุภาคแขวนลอยขนาดต่างๆ ในอากาศภายในห้องเรียน ได้แก่ อนุภาคแขวนลอยรวม (TSP) อนุภาคขนาด 2.5-10 ไมครอน (PM2.5-10) อนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคแขวนลอยขนาดต่างๆ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม กับปริมาณแบคทีเรียรวมและเชื้อรารวม ตรวจวัดอนุภาคแขวนลอยขนาดต่างๆ โดยใช้ PMI Coarse Impactor การเก็บตัวอย่างปริมาณแบคทีเรียและเชื้อรวมในอากาศโดยใช้วิธีดักเก็บด้วยจานเก็บตัวอย่าง (Impaction method) ตามเกณฑ์มาตรฐานของ NIOSH method 0080 Bioaerosol sampling for indoor air วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคแขวนลอยส่วนใหญ่ในห้องเป็นอนุภาคขนาดเล็ก (<10 ไมครอน) มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.014 – 0.056 mg/m3 ส่วนปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในอากาศ มีค่าอยู่ในช่วง 82.45 – 1,707.90 CFU/m3 ส่วนเชื้อราทั้งหมดมีค่าอยู่ในช่วง 194.23 – 530.04 CFU/m 3 ผลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพบว่า การแลกเปลี่ยนอากาศมีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณแบคทีเรียรวม (p<.05) อุณหภูมิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณเชื้อรา (p<.05) และอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน มีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณแบคทีเรีย (p<.05) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคแขวนลอยขนาดต่างๆ กับปริมาณเชื้อรา