JOURNAL
EVALUATION OF INDOOR AIR QUALITY CONDITIONS IN CLASSROOMS
การประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องเรียน

~~This study aimed to evaluate the indoor air quality condition in classrooms by using indoor air quality standards and relationship between ventilation factors and fungi. Two classrooms were selected among 4 classrooms in the building. Ventilation factors were measured including temperature, relative humidity, air change rate, volume of outdoor air, total dust and fungi between 09.00 a.m. to 12.00 a.m. and 13.00 p.m. to 16.00 p.m. 2 days a week for 3 weeks. The total of 24 specimens were collected for analysis using Spearman Correlation Coefficient. The study found that the temperature and relative humidity did not meet the standard regarding to ASHRAE 55-2010 which was 66.7% and 83.3% respectively. However, air change rate met 100% of standard regarding to Ministerial Regulation No. 33: B.E.2535. The volume of outdoor air was met standard (91.7%) following ASHRAE 62. The total dust was met standard of OSHA (100%), but the fungi almost did not meet the standard of Good Indoor Air Quality in Office Premises (Singapore, 1996). This study showed no evidence of the relationship between ventilation factors and fungi with statistical significance. Among 6 ventilation factors, this study found the classrooms did not meet the standard of temperature and relative humidity. There was no evidence of the relationship between ventilation factors and the amount of fungi.

~~การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องเรียน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการระบายอากาศกับการเกิดเชื้อรา ศึกษาระบบปรับอากาศภายในอาคารเรียนโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นห้องเรียนแบบระบบปิดซึ่งมีการนำอากาศเข้าแบบส่งลมเย็น จำนวน 2 ห้องเรียนจากทั้งหมด 4 ห้องเรียนของอาคารเรียนแห่งหนึ่ง เก็บตัวอย่างปัจจัยด้านการระบายอากาศประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ ปริมาตรอากาศจากภายนอกอาคาร ฝุ่นโดยรวม และเชื้อรา ระหว่าง 2 ช่วงเวลา คือ 09.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น. เก็บตัวอย่างสัปดาห์ละ 2 วัน จำนวน 3 สัปดาห์ จำนวนตัวอย่างที่เก็บได้ในแต่ละปัจจัยการระบายอากาศของทั้ง 2 ห้องเรียนมี 24 ตัวอย่าง นำปัจจัยการระบายอากาศประเมินกับมาตรฐานการระบายอากาศและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการระบายอากาศกับการเกิดเชื้อราภายในห้องเรียนโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิภายในห้องเรียนไม่ผ่านมาตรฐานของ ASHRAE 55-2010 ร้อยละ 66.7 ความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องเรียนไม่ผ่านมาตรฐานของ ASHRAE 55-2010 ร้อยละ 83.3 อัตราการระบายอากาศผ่านมาตรฐานตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ร้อยละ 100 ปริมาตรอากาศเข้าจากภายนอกอาคารผ่านมาตรฐานของ ASHRAE 62 ร้อยละ 91.7 ปริมาณฝุ่นละอองโดยรวมผ่านมาตรฐาน OSHA ร้อยละ 100 และปริมาณเชื้อราผ่านมาตรฐานตาม Guide lines for Good Indoor Air Quality in Office Premises 1996 ประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 58.3 และผลการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยการระบายอากาศกับการเกิดเชื้อราพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน จากการเก็บตัวอย่างปัจจัยการระบายอากาศจำนวน 6 ปัจจัยภายในห้องเรียนมีเพียงอุณหภูมิและความชื้นที่ค่าส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐาน และการนำปัจจัยการระบายอากาศมาหาความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อราพบว่าปัจจัยการระบายอากาศไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อรา

Full Paper as PDF