~~The purpose of this research was to study the effect of health education activities on exercise behavior of people in Pra Arjarn Subdistrict, Ongkharak District, Nakhon Nayok Province. The study design was one group pre-test post-test design. The study samples were 180 people in Pra Arjarn Subdistrict, Ongkharak District, Nakhon Nayok Province who were willing to enroll in this study. Community participation concept was applied in this study. Community health mainstay was formed for enhancing exercise behavior among people. Exercise behavior consisted of knowledge, attitude and practice on exercise. The research instruments were health education activities and exercise behavior questionnaires. Percentage, mean, standard deviation and dependent samples t-test were applied for data analysis. The results indicated that after participating in the health education activities, the people had significantly better knowledge, attitude and practice on exercise behavior than before participating in the health education activities at the 0.01 level. Therefore, community participation concept should be applied in each health education activities for enhancing exercise behavior of people in community.
~~การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษากลุ่มเดียวแบบทดสอบก่อนและหลัง (One group pre-test post-test design) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ที่ยินดีเข้าร่วมการศึกษานี้ จำนวน 180 คน การวิจัยนี้ได้มีการประยุกต์แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการพัฒนาแกนนำสุขภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน โดยพฤติกรรมการออกกำลังกายประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ กิจกรรมสุขศึกษา และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent samples t-test) ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมสุขศึกษา ประชาชนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นควรมีการประยุกต์การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชน