Purpose : The objective of this research was to study the result of weight control of overweight undergraduate students at Srinakharinwirot University by applying self - regulation concept and health literacy
Methods : The researcher developed the weight control model of students at Srinakharinwirot University by using research and development together with participatory action research by application of AIC (Appreciation-Influence-Control) in phase 1 and 2 and then applied to the samples. The 33 undergraduate students with over 23 Kg/m3 BMI were selected by purposive sampling. The trial model of weight control consisted of learning of self regulation technique, health literacy technique and dietary habits and exercise for weight control. After applying the model, the samples regulated themselves by setting goal of weight control, adjusted dietary habits and exercise. The dietary habits and exercise were recorded in 3 months. The data of weight and height of the samples were recorded before and after intervention. Questionnaires of Health literacy of overweight, dietary habits, exercise and activities were used to collect the data. Percentage, mean, standard deviation and dependent t – test were used for data analysis.
Results : The results showed that, after the intervention, the samples had 4 aspects i.e., 1) the assessibility to information and health service, 2) communication skills, 3) self management skills and 4) media literacy changed more positively than before applying the intervention with statistically significant difference at .05 level. The mean of knowledge and understanding of health and overweight prevention including decision making skill for health were increased but no significant different than before. The BMI decreased statistically significant difference at .01 level. The weight control behaviors of dietary habits, exercise behaviors and physical activity was better than before with statistically significant difference at .01 and .05 respectively.
Conclusion : Weight control model of overweight undergraduate students at Srinakharinwirot University by applying self - regulation concept and health literacy could increase the Health literacy of overweight, dietary habits and exercise behaviors of the samples, and decrease the BMI of the samples.
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการควบคุมน้ำหนักของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการกำกับตนเองร่วมกับความฉลาดทางสุขภาพ
วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการควบคุมน้ำหนักของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยประยุกต์ใช้เทคนิค AIC (Appreciation Influence Control) ในระยะที่ 1 และ 2 มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กิโลกรัม/ตารางเมตร ขึ้นไป โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 33 คน รูปแบบดังกล่าว ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการกำกับตนเอง ความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก หลังการอบรม ให้กลุ่มตัวอย่างฝึกการกำกับตนเองโดยตั้งเป้าหมายในการควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในระยะเวลา 3 เดือน ให้กลุ่มตัวอย่างชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ก่อนและหลังการทดลอง สำหรับเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Dependent t – test
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินในด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะการจัดการตนเองและการรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพและการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน รวมทั้งด้านทักษะการตัดสินใจเพื่อสุขภาพไม่แตกต่างกัน แต่มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ด้าน สำหรับค่าดัชนีมวลกายของนิสิต พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก ด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05
สรุปผลการวิจัย รูปแบบการควบคุมน้ำหนักของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการกำกับตนเองร่วมกับความฉลาดทางสุขภาพ สามารถทำให้นิสิตมีความฉลาดทางสุขภาพเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายดีขึ้น รวมทั้งมีค่าดัชนีมวลกายลดลง