The development of learning model through personal and community health promotion website based constructionism for developing critical thinking of students in faculty of education at Kasetsart University
Purpose : Purposes of this research were:- 1) to establish website learning model-based constructionism for personal and community health promotion inorder to develop critical thinking, 2) to compare the differences between critical thinking skill before and after using website learning model, and 3) to examine the student satisfaction to website learning model.
Methods : Population were undergraduate students of Faculty of Education took courses at the first semester of academic year of 2014. The experimental sample were 21 students who were selected by simple random sampling from those took classes at Bangkhen Campus. Data were analyzed by mean, standard deviation, and dependent samples t-test.
Results : Findings were revealed that website learning model consisted of 10 steps, including:- 1) preparation, 2) propose problem, 3) searching, 4) data collection, 5) diagnosing, 6) discussion, 7) choose the best choice, 8) implementation, 9) presentation, and 10) evaluation.
Conclusion : Meanwhile result were found that students after using website learning model had higher critical thinking score than before at 0.1 level, as well as they had satisfaction to website learning model at the higest level.
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ การส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนิสิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการใช้เว็บไซต์การส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ การส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ศึกษาเป็นนิสิตในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent Samples t-test
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์การส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มี 10 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นการเสนอประเด็นสถานการณ์ปัญหา 3) ขั้นแสวงหาความรู้ 4) ขั้นรวบรวมและจัดการกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 5) ขั้นวินิจฉัย 6) ขั้นอภิปรายเพื่อประเมินค่า ระดมสมอง และวางแผนการสร้างผลงาน 7) พิจารณาเลือกแนวทางที่ดีที่สุด 8) ขั้นปฏิบัติสร้างสรรค์ชิ้นงาน 9) การนำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์เพื่อการปรับปรุง และ 10) ขั้นประเมินผล
สรุปผลการวิจัย พบว่า ผลคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตที่เรียนบทเรียนผ่านเว็บไซต์ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อบทเรียนผ่านเว็บไซต์การส่งเสริมสุขภาพสำหรับตนและชุมชนตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด