Purpose : The purpose of this research was to study the effect of leisure program on the quality of elderly life.
Methods : The research samples were 60 members of King Rama 6 hospital senior club the ages of 60-80 years old, who were selected by the quality of life scale into two groups, 30 each for the experiment and control groups. The experiment group attended the leisure program for promoting quality of life that was established by the researcher for 8 weeks, twice a week. As the same time the control group attended the senior club activities. The research instruments were: a) the leisure program for promoting quality of life which the content validity was examined by 5 leisure experts, and the appropriateness was at 2.88; and b) the quality of life scale related to leisure activity of the elderly was approved by 5 leisure expert, the index of congruence was in the range of 0.6-1.0, meanwhile the test-retest coefficient correlation reliability was at 0.89. Data were analyzed by computer software using mean, standard deviation, and t-test.
Results : After attending the leisure program, the quality of life of the experiment group got better than pre - attending at the significant level of statistics at .05. Moreover, after attending the program, the experiment group had more changed quality of life than the control group.
Conclusion : The leisure program for promoting the quality of elderly life which was established by the researcher processes the appropriateness and ables to apply to the older adults.
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้เวลาว่างที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชาย-หญิง ที่มีอายุ 60 - 80 ปี สังกัดชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี จำนวน 60 คน โดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตคัดกรองและใช้วิธีการจับคู่แบบ matched-pair โดยได้แบ่งจำนวนผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน เข้าร่วมโปรแกรมการใช้เวลาว่างที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวม 16 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม 30 คน เข้าร่วมกิจกรรรมกับทางชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้คือ 1) โปรแกรมการใช้เวลาว่างที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ของโปรแกรมทั้งฉบับ (face validity) และผ่านการประเมินค่าความเหมาะสม = 2.88 จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และ 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการใช้เวลาว่างของผู้สูงอายุโดยได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (index of congruence) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.6 - 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพื่อหาความเชื่อมั่น โดยวิธี test-retest มีค่าเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ในการคำนวณหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ในการทดสอบสมมติฐานผลของโปรแกรมการใช้เวลาว่างที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์
ผลการวิจัย หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการใช้เวลาว่างผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุม
สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้เวลาว่างเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้กับผู้สูงอายุได้