JOURNAL
THE DEVELOPMENT OF RECREATION CENTER OPERATION MODEL FOR CHILDREN IN WELFARE INSTITUTE
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์

Purpose : The purposes of this study were to develop the operation of recreation center model for children in welfare institute, and to study effects of the operation of recreation center.

Methods : Sixty subjects were purposively selected including 30 upper elementary school students and 30 junior high school students for quantitative study. In addition, four of recreation center staff were subjects for qualitative study. The research instruments of study included of 1) The operation of recreation center model, 2) structured interview form, 3) participant observation form, 4) critical incidence forms, and 5) the questionnaire of satisfaction on recreation program participation of recreation center. Quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, qualitative data were analyzed by checking the reliability with member checks and triangulation.

Results : The results of this research were as follows : 1.Experts evaluated the operation of recreation center model for children in welfare institute was in very good quality; the item-object congruence was in the range of 0.6 – 1.0  2. Children in welfare institute satisfied on recreation programs participation. The operation of recreation center for children in welfare institute overall were at high level. 3.The results of the study on opinion of staff on the recreation center operation in welfare institute divided into 4 topics: 1) Recreation center context was generally suitable; head of program was supporting and staffs were ready to work, 2) Input factors of recreation center; physical resources, facilities and equipments, readiness of staff and participants, and suitable recreation programs were effective,              3) Process of recreation center operation; head of recreation center, staff, and recreation programming were appropriate, 4) Recreation center was effective for being the place for children using their leisure time effectively and promoted their quality of life, and output of work were good and obtained the objectivity.

Conclusion : The fidings showed that the operation of recreation center model for children in welfare institute was very good quality.

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์และศึกษาผลการดำเนินงานของศูนย์นันทนาการ

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น เด็กระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และเจ้าหน้าที่ศูนย์นันทนาการ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการดำเนินงานศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบบรรยายเหตุการณ์สำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และตรวจสอบความเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบโดยกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสามเส้า

            ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการดำเนินงานศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมากและมีค่าพิสัยดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.6 –1.00  2. ความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการและการดำเนินงานของศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด    3. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์สรุปได้ 4 หัวข้อ คือ 1) ด้านบริบททั่วไปของศูนย์นันทนาการ ศูนย์นันทนาการมีสภาพโดยทั่วไปมีความเหมาะสม หัวหน้าหน่วยงานให้การสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ศูนย์นันทนาการความพร้อมในการปฏิบัติงาน 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของศูนย์นันทนาการ ทรัพยากรกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวกและวัสดุอุปกรณ์มีความพร้อมให้บริการ หัวหน้าศูนย์นันทนาการและทีมงานมีความพร้อมในการดำเนินงาน กลุ่มเด็กมีความพร้อมและความสนใจในการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการ และโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการมีความเหมาะสม    3) ด้านกระบวนการดำเนินงานของศูนย์นันทนาการ หัวหน้าศูนย์นันทนาการมีความสำคัญในการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานในศูนย์นันทนาการและกระบวนการจัดโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการมีความเหมาะสม 4) ศูนย์นันทนาการมีประสิทธิภาพเป็นสถานที่ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและ 5) การปฏิบัติงานและการจัดโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการของเจ้าหน้าที่ทำได้ดี บรรลุวัตถุประสงค์และพอใจกับผลการปฏิบัติงานของตนเอง

สรุปผลการวิจัย การศึกษาผลพบว่ารูปแบบการดำเนินงานศูนย์นันทนาการสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์มีคุณภาพดีมาก

Full Paper as PDF