JOURNAL
MOTOR FITNESS OF LOWER SECONDARY STUDENTS STUDYING IN THE EDUCATIONAL SERVICE AREA 7, AMPHOE ONGKHARAK, NAKHONNAYOK PROVINCE IN ACADEMIC YEAR 2012
สมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2555

Purpose : The purposes of this study were to investigate and to construct criterion of motor fitness of lower secondary school of Secondary Educational Service Area Office 7 in Amphoe Ongkharak, Nakornnayok in academic year 2012.

Methods : The subjects of 360 students, by multistage random sampling, were 180 boys and 180 girls. The students were tested by Barrow Motor Ability Test, The Ruler Drop Test by Davis; et al, and Tests of Balance by Arnot; & Gaines. After re-tested, the reliability of the Standing Broad Jump was 0.95, the Stork Stand was 0.92, the Ruler Drop Test was 0.88, the Zigzag Run was 0.93, the 50-Meter Dash was 0.95, and the Wall Pass was 0.90. Then data were analyzed by T-score.

Results : The research results were found as follows: 1) Motor fitness criterion in total of the level 7th boys at very high level was more than 60, at high level was 55 - 59, at moderate level was 50 - 54, and at low level was  under 45 - 49 .  2) Motor fitness criterion in total of the level 8th boys at very high level was more than 59, at high level was 54 - 58, at moderate level was 49 - 53, and at low level was under 44 - 48.  3) Motor fitness criterion in total of the level 9th boys at very high level was more than 59, at high level was 55 - 59, at moderate level was 51 - 54, and at low level was under 47 - 50.  4) Motor fitness criterion in total of the level 7th girls at very high level was more than 54, at high level was 50 -53, at moderate level was 46 - 49, and at low level was under  42 - 45.  5) Motor fitness criterion in total of the level 8th girls at very high level was more than 63, at high level was 58 - 62, at moderate level was 53 - 57, and at low level was under 48 - 52.  6) Motor fitness criterion in total of the level 9th girls at very high level was more than 54, at high level was 51 -53, at moderate level was 48 - 50, and at low level was under  45 - 47.

Conclusion :     The total motor fitness was appropriate and was continuously developed in eah level of studying.

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2555

วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 360 คน จำแนกเป็นเพศชาย 180 คน เพศหญิง 180 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการแบบสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้เลือกเฉพาะประกอบ ด้วยรายการทดสอบ 6 รายการ นำมาหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบซ้ำ คือยืนกระโดดไกล ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95 ยืนนกกระสา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.92 การจับไม้บรรทัดตก ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.88  วิ่งซิกแซก ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิ่ง 50 เมตร ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95 การส่งลูกบอลกระทบฝาผนัง ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนที

ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 60 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 55 – 59 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 50 – 54 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 45 - 49 ลงมา  2) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 59 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 54 – 58 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 49 – 53 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 44 – 48 ลงมา  3) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 59 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 55 - 59 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 51 – 54 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 47 - 50 ลงมา  4) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 54 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 50 - 53 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 46 - 49 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 42 - 45 ลงมา  5) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 63 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 58 – 62 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 53 – 57 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 48 – 52 ลงมา  6) เกณฑ์สมรรถภาพกลไกรวมทุกรายการนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงมากเท่ากับคะแนนทีที่ 54 ขึ้นไป สูงเท่ากับคะแนนทีที่ 51 - 53 ปานกลางเท่ากับคะแนนทีที่ 48 - 50 ต่ำเท่ากับคะแนนทีที่ 45 – 47 ลงมา           

สรุปผลการวิจัย สมรรถภาพทางกลไกโดยรวมมีความเหมาะสมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามระดับชั้นที่สูงขึ้น

Full Paper as PDF