JOURNAL
THE EFFECT OF SOCIAL DANCE TRAINING ON STRENGTH BALANCE FLEXIBILITY OF THE ELDERLY.
ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัวของผู้สูงอายุ

Purpose The purpose of this study was to investigate and compare the effect of social dance training on Strength Balance Flexibility of the elderly.

Methods The Purposively Selected were 18 the elderly’ s female Bangkok International Dance Academy, age between 60-65 years old. The training duration was 8 weeks, 3 days per week. The elderly female were tested with Strength Balance Flexibility, before training, and after training in the 4th and 8th  week of training. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation and Nonparametric Statistics.

Results 1) Mean in the Strength test before of the training and after training in the 4th and  8th  week of training were 41.83 , 45.49 , 47.86 and standard deviations were 7.15, 6.75, 6.61 respectively 2) Mean in the Balance test of before the training and after training in the 4th and  8th  week of training were 49.69, 37.92, 34.63 and standard deviations  were 1.97, 1.92, 1.83 respectively 3) Mean in the Flexibility test of before the training and after training in the 4th and  8th  week of training were 4.94, 7.00, 9.11 and standard deviations  were 2.36, 2.44, 2.94 respectively 4) When compared the Strength Balance Flexibility, before training, and after training in the  4th and  8th week, were significantly different, at .05 levels.

Conclusion social dance training (1 hour per day and three days per week) for 8th weeks could improve Strength, Balance, Flexibility of over 60 years old-females.

วัตถุประสงค์ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศที่มีต่อความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัวของผู้สูงอายุ

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุเพศหญิงอายุระหว่าง 60-65 ปี ของสถาบันBangkok International Dance Academy ปี 2557 จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเจาะจงเลือก ใช้เวลาการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัว ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก

ผลการวิจัย 1) ความแข็งแรงก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 41.83 , 45.49 และ 47.86 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.15, 6.75 และ 6.61 ตามลำดับ 2) การทรงตัวก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 49.69, 37.92 และ 34.63 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.97, 1.92 และ 1.83 ตามลำดับ 3) ความอ่อนตัวก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.94, 7.00 และ 9.11 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.36, 2.44 และ 2.94 ตามลำดับ4) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัวของผู้สูงอายุก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นลีลาศวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วันจำนวน 8 สัปดาห์ สามารถพัฒนาความแข็งแรง การทรงตัว และความอ่อนตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้

Full Paper as PDF