Purpose The purpose of this study was (1) to determine a proper yoga program for elderly, (2) to examine a proper stimulated recalled format (using yoga poses) for elderly (3) to make up a yoga handout for elderly and (4) to explore effects of yoga training on health. Participants were 20 healthy female senior citizens, ranging of ages between 60-67 years old, who exercised regularly with no previous yoga experience. Participants signed consented forms and volunteered to participate. All of them passed the physical activity health readiness test (PAR-Q), asking about general health.
Methods Subjects practiced a 1-hour yoga session for 8 weeks, 3 times a week, on Monday and Wednesday with a leader. In addition, participants practiced by themselves on Friday, using yoga handouts as guideline to make sure that they performed poses correctly. Data were collected via observation, stimulated recall, and interview. Data were analyzed through a constant comparison method and triangulated across methods.
Results Findings indicated 4 themes. First, the most preferred yoga programs for these elderly were 20 forms of Dantien Taichi from Dantien-Salee Yoga Style, yoga in the office, and yoga for daily life subsequently. Second, the stimulated recall format, watching photos of all yoga poses, was the most appropriate for elderly. Third, a yoga handout, developed by the researchers, was appropriate and useful for reviewing yoga poses. Forth, their overall health improved.
Conclusion Yoga programs that elderly wanted to practice were 20 forms of Dantien Taichi from Dantien-Salee Yoga Style, yoga in the office, and yoga for daily life.
วัตถุประสงค์ การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาโปรแกรมการฝึกโยคะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ (2) ศึกษารูปแบบการกระตุ้นความจำ (โดยใช้ท่าการฝึกโยคะ) ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ (3) จัดทำคู่มือการฝึกโยคะสำหรับผู้สูงอายุ และ (4) ศึกษาผลการฝึกโยคะที่มีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ เพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-67 ปี เป็นผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและมีสุขภาพดี ทุกคนยังไม่เคยฝึกโยคะมาก่อน จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยและผ่านการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นว่าสามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ โดยการตอบแบบสอบถามพาร์-คิว (PAR-Q) ซึ่งเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างทุกคนเซ็นหนังสือแสดงความยินยอมเพื่อเข้าร่วมในโครงการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกโยคะครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ ฝึกโดยมีผู้นำการฝึกในวันจันทร์และพุธ ส่วนวันศุกร์ให้ผู้สูงอายุฝึกเองอีก โดยใช้คู่มือการฝึกเป็นแนวทางเพื่อให้มั่นใจว่าฝึกท่าต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ และการกระตุ้นความจำ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล และตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการสามเส้า
ผลการวิจัย สรุปได้เป็น 4 ประการ คือ ประการแรก โปรแกรมการฝึกโยคะที่ผู้สูงอายุต้องการ คือ ได้แก่ การฝึกรำไท้จี๋ชุดตันเถียน 20 ท่า ตามแบบตันเถียน-สาลี่โยคะ การฝึกโยคะในสำนักงาน และการฝึกท่าโยคะในชีวิตประจำวันตามลำดับ ประการที่ 2 รูปแบบการกระตุ้นความจำที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ คือ การกระตุ้นความจำด้วยการดูภาพถ่ายของท่าการฝึกโยคะทุกท่า ประการที่ 3 คู่มือการฝึกโยคะที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมีความเหมาะสมในการใช้เพื่อทบทวนท่าการฝึก ที่จะนำไปใช้ฝึกสำหรับผู้สูงอายุ และประการที่ 4 ผู้สูงอายุมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น
สรุปผลการวิจัย โปรแกรมโยคะที่ผู้สูงอายุต้องการฝึก คือ การรำไท้จี๋ชุดตันเถียน 20 ท่า ตามแบบตันเถียน-สาลี่โยคะ โยคะในสำนักงาน และโยคะในชีวิตประจำวัน