Purpose: The purposes of this study were to explore effects of exercises with a rubber chain, the matrix of nine squares and stretching on health and to determine reasons that fostered participants to exercise continuously.
Methods: Participants were 20 out of 42 practitioners who volunteered to do a 90 minute exercise, 3 times a week for 4 months, using a rubber chain/band, the matrix of nine squares, and stretching (RMS) activities. Elastic band was used as a resistance training to help strengthen different groups of muscles for 30 minutes. The matrix of nine squares was used to train the right and left sides of the brain, by continuously stepping on the matrix of 9-squares in a variety of movement patterns for 30 minutes with the music beat, similar to aerobic dancing. In addition, a 30-minute stretching exercise was trained at the end of each session. Data were collected using non-participant observation, critical incident, and interview. Data were analyzed inductively through a constant comparison and triangulated across methods.
Results: Findings indicated that RMS exercises resulted in enhancing their health in 4 aspects. Those were improving overall health (better strength and flexibility as well as cardiovascular endurance), promoting good memory and concentration, improving mental health and reducing stress as well as increasing socialization with others. Factors that encouraged participants to exercise regularly for 4 months included 2 categories. First, the teacher taught well with proper teaching cues and appropriate feedback. Second, participants liked and enjoyed training activities including the matrix of nine squares, the rubber chain, the stretching activities and a variety of exercise patterns. Their preference and enjoyment in the activities increased if they could do the activities well.
Conclusion: Findings indicated that the RMS exercises were effective for improving overall health. Thus, people who design exercise programs should include activities that promote strength, flexibility and cardiovascular endurance in order to enhance participants’ health.
วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้ต้องการศึกษาผลการออกกำลังกายด้วยยางยืด ตารางเก้าช่องและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อสุขภาพและเหตุปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร 20 คน จาก 42 คน ที่เข้าร่วมออกกำลังกายครั้ง ละ 90 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 เดือน ด้วยยางยืด ตารางเก้าช่องและกิจกรรมกรรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (อาร์เอ็มเอส) ยางยืดใช้เป็นแรงต้านในการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มต่าง ๆ เป็นเวลา 30 นาที ตารางเก้าช่องใช้เพื่อฝึกสมองซีกขวาและซ้าย โดยทำการก้าวเต้นไปบนตารางทรงจัตุรัสด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันเป็นเวลา 30 นาที โดยมีเสียงดนตรีประกอบคล้ายกับการเต้นแอโรบิก นอกจากนั้น ยังมีการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อในช่วงสุดท้ายของการออกกำลังกายอีก 30 นาที ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การเขียนแบบบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยการตรวจสอบความคงที่ของข้อมูลและตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า
ผลการวิจัย สรุปได้ว่า การออกกำลังกายด้วยยางยืด ตารางเก้าช่องและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีผลดีต่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง 4 ประเด็น คือ (1) สุขภาพโดยรวมดีขึ้น (ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ความอดทนของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น) (2) การฝึกสมองทำให้สมาธิและความจำดีขึ้น (3) สุขภาพจิตดีขึ้น ความเครียดลดลง และ (4) การมีสังคมกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น สำหรับปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 4 เดือน จนจบโครงการนั้น สรุปได้ 2 ประการคือ (1) ครูสอนดี ใช้คิวการสอนและให้ฟีดแบคได้ดี และ (2) ความชอบและสนุกกับกิจกรรมการออกกำลังกาย (ชอบการฝึกตารางเก้าช่อง ชอบการฝึกด้วยยางยืด ชอบการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ชอบท่าการออกกำลังกายที่มีความหลากหลาย และความชอบและความสนุกเพิ่มขึ้นถ้าทำกิจกรรมได้ดี)
สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายด้วยยางยืด ตารางเก้าช่องและกิจกรรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (RMS) ช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายควรพิจารณากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาความแข็งแรง ความยืดหยุ่นและความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดเพื่อช่วยสร้างเสริมสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม