Purpose: The purpose of this study was to assess the students and instructors’ satisfaction towards laboratory services of the Faculty of Nursing, Srinakharinwirot University.
Methods: This descriptive cross sectional study consisted of the 345 samples including the 2nd, 3rd, and 4th year of 313 students and 32 instructors who had experiences in using laboratory services. The instruments consisted of personal questionnaire and the satisfaction questionnaire towards the laboratory services covering five aspects (step of services, personnel, tools and equipment, duration, and facilities).
Results The study revealed that the relevancy value and content validity index of the satisfaction questionnaire towards the laboratory services was .89 and .82, respectively. Also, the reliability coefficient presented very good value as .91. Demographic analysis showed that almost all students (96.5%) were female with two-third had age range of 19-24 years old. The frequencies in laboratory using among three-year students were similar at 1-3 times per month (60%) and 4-6 times per month (30%). All of the instructors were female and half of them had the age range 41-50 years old. Most of the instructors used the laboratory 1-3 times per month. Also, Most of the students and instructors presented similar high value of satisfaction towards five aspects of laboratory services with the highest average satisfaction value in personnel. The high average satisfaction values were equal in both aspects of tool, equipment, and facilities. The students and instructors presented average number and average satisfactory value over 80% in all aspects.
Conclusion This study is beneficial for the development of the guideline to improve laboratory services provided in the Faculty of Nursing to meet the highest satisfaction among students and Instructors. The realization among administrative committee, instructors, and personnel to increase laboratory services’ capacity created nursing practicum readiness resulting in reducing stress among nursing students when they are practice in clinic. Finally, nursing students will happily conduct nursing care to the patient with high quality.
วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติ การพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนานี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 313 คนและอาจารย์ 32 คน ที่ใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาล เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล 5 ด้าน (ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ด้านระยะเวลาในการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก)
ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าค่าความสอดคล้องและค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล 5 ด้าน เท่ากับ .89 และ .82 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานพบว่านิสิตเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96.5) เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 19 – 24 ปี สัดส่วนของความถี่ในการใช้บริการห้องปฏิบัติการของนิสิตทั้งสามชั้นปีมีค่าใกล้เคียงกันคือ 1-3 ครั้ง/เดือน (ร้อยละ 60) และ 4 – 6 ครั้ง/เดือน (ร้อยละ 30) ส่วนอาจารย์เป็นเพศหญิงทั้งหมด ครึ่งหนึ่งอายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนใหญ่ใช้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล 1-3 ครั้งต่อเดือน นิสิตและอาจารย์ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาลทั้ง 5 ด้านใกล้เคียงกันในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงสุดด้านบุคลากรผู้ให้บริการ รองลงมาเป็นค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจด้านเครื่องมือและอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และทั้งนิสิตและอาจารย์มีค่าเฉลี่ยจำนวนและร้อยละของความพึงพอใจระดับมากต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล มากกว่าร้อยละ 80 ทุกด้าน
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่านิสิตและอาจารย์มีความพึงพอใจต่อการให้บริการห้อง
ปฏิบัติการพยาบาลในระดับมาก และสามารถนำคำแนะนำไปเป็นแนวทางปรับปรุงการให้บริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของนิสิตและอาจารย์พยาบาล ทำให้ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรประจำห้องฝึกปฏิบัติการพยาบาลตระหนักถึงการเพิ่มสมรรถนะการให้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้นิสิตพยาบาลมีความคุ้นเคยและความพร้อมด้านทักษะปฏิบัติการพยาบาล ลดความเครียดขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย ทำให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ