JOURNAL
A DESCRIPTIVE STUDY OF CURRICULUM DEVELOPMENT FOR SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY’S DOCTOR OF SCIENCE PROGRAM WITH A SPECIALIZATION IN HEALTH EDUCATION
การศึกษาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    This research study was a descriptive study of curriculum development for Srinakharinwirot

University’s Doctor of Science program with a specialization in health education.  The purpose of study were to  examine opinions toward characteristics of health educators, competencies for health educators, to study curriculum structure of this doctoral degree program, and to study possibility of opening Doctor of Science program with a specialization in health education.

Methods : This study used documentary and quantitative research. Subjects were 171 master degree graduate holders (26 males 145 females) from 7 universities. And this study also used qualitative research. Subjects were 14 experts (4 males 10 females), 5 users (4 males one female) and 14 colleagues (4 males 10 females). The essential data were collected by 1) document analysis of  Doctor of Science program with a specialization in health education in Thailand and International countries, 2) sending questionnaires to master degree graduate holders and 3) depth interviews with experts, users and colleagues.

Results : The result revealed that 1) Competencies for health educators were personality, leadership, academic performance, research and evaluation performance, social responsibility, health care and health behavior modification performance, work performance and professional development; 2) Admission consideration requires application of the following criteria : graduate or professional degree, age, grade point average, English Language Skills, work experience,  research proposal presentation, and vision presentation; 3)  Desired characteristics of Doctor of Science program with a specialization in health education were self development, academic performance development, research and evaluation skill, health education performance skill, and professional development; 4) Philosophy of this doctoral degree program have ten perspectives as follows : health development, health care, healthy,  health education, health behavior modification, health leadership, health management leader, health promotion, health education researcher and health education professional; and 5) Outcome of this doctoral degree program have four perspectives as follows : specialist/ health education leadership/ health education researcher and health education academic leadership,  health promotion, and health education development.

              Conclusion The results of this study found that there were agreement of experts and colleagues about less possibility of opening Doctor of Science program with a specialization in health education at Srinakharinwitor University.

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา สุขศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักสุขศึกษา สมรรถนะของ   นักสุขศึกษา มีการศึกษาโครงสร้างของหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา ที่ต้องการให้เกิดขึ้น และศึกษาความเป็นไปได้ของการเปิดหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา

วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากมหาวิทยาลัย 7 แห่ง จำนวนรวม 171 คน (ชาย 26 คน หญิง 145 คน) และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอาจารย์สอนสุขศึกษาในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 14 คน (ชาย 4 คน หญิง 10 คน) ผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิต จำนวน 5 คน (ชาย 4 คน หญิง 1 คน) และคณาจารย์ภาควิชาสุขศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 14 คน (ชาย 4 คน หญิง 10 คน)  มีการรวบรวมเอกสารข้อมูลและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับหลักสูตรปริญญาเอกสุขศึกษา แจกแบบสอบถามถามผู้สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิต สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิต และคณาจารย์ในภาควิชาสุขศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

            ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของนักสุขศึกษา ประกอบด้วย บุคลิกภาพ ภาวะผู้นำ ความสามารถทางวิชาการ ความสามารถในการวิจัยและประเมินผล ความรับผิดชอบต่อสังคม ความสามารถในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ความสามารถในการทำงาน และพัฒนาวิชาชีพ 2) คุณสมบัติของผู้สมัครหลักสูตร วท.ด. สุขศึกษา ต้องมีวุฒิการศึกษา อายุ  คะแนนเฉลี่ย ภาษาอังกฤษ ประสบการณ์การทำงาน เสนอเค้าโครงงานวิจัย และกำหนดให้แสดงวิสัยทัศน์ 3) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของดุษฎีบัณฑิตทางสุขศึกษา ประกอบด้วย พัฒนาตนเอง พัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ มีทักษะวิจัยและประเมินผล มีทักษะการทำงานสุขศึกษา และพัฒนาวิชาชีพ 4) ปรัชญาของหลักสูตร วท.ด. สุขศึกษา  มีมุมมอง 10 ด้าน ได้แก่ พัฒนาสุขภาพ ดูแลสุขภาพ สุขภาพดี สุขศึกษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้นำทางสุขภาพ นักจัดการด้านสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ/สร้างเสริมสุขภาพ นักวิจัยด้าน  สุขศึกษาและวิชาชีพสุขศึกษา และ 5) เป้าประสงค์ของการจัดการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตทางสุขศึกษา มีมุมมอง 4 ประเด็น ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้นำด้านสุขศึกษา/นักวิจัยและนักวิชาการทางด้านสุขศึกษา ผู้นำด้านวิชาการทางสุขศึกษา การสร้างเสริมสุขภาพ และการพัฒนางานสุขศึกษา

สรุปผลการวิจัย พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ภาควิชาสุขศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัย          ศรีนครินทรวิโรฒ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเป็นไปได้น้อยในการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษา (วท.ด. สุขศึกษา)

Full Paper as PDF