JOURNAL
THE EFFECT OF WEIGHT TRAINING UPON THE CROSS AND PLANCHE
ผลการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อความสามารถในทักษะกางเขนและหกขนาน

Purpose The purpose of this study was to investigate and compare the effect of weight training upon the cross and planche.

Methods The Purposively Selected were 16 gymnast Suphanburi Sports School, age between 13-15 years old. They were divided into 2 groups of 8 persons each. The first group received training upon the cross and planche ability along with muscular strength while the second group received training upon the cross and planche ability only.The training duration was 8 weeks, 3 days per week. The gymnast were tested with the cross and planche ability test, before training, and after training in the  4th and  8th  week of training. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation and Nonparametric Statistics.

Results 1) Mean in the cross ability test of the controlled l group before the training and after training in the 4th and  8th  week of training were 1.75,1.88, 2.25 ,and standard deviations  were 0.70, 0.83, 0.88 respectively and the experimental group were 1.88, 2.25, 4.75 ,and standard deviations were 0.64, 0.46, 1.03 respectively 2) Mean in the planche ability test of the controlled group before the training and after training in the 4th and  8th  week of training were 3.87, 4.25 ,4.88,and standard deviations  were 0.64, 0.70, 0.64 respectively and the experimental group were 3.75, 4.50 ,6.50,and standard deviations were 0.70, 0.53, 0.75 respectively 3) When compared the cross and planche ability test between , before training, and after training in the  4th and  8th  week of training means of the Controlled Group and the Experimental Group, were significantly different, at .05 levels. 4) When compared the cross ability test between the after 8 week of training means of the controlled Group and the experimental Group, were significantly different, at .05 levels.and. When compared the planche ability test between the 4th and  8th  week of training means of the controlled Group and the experimental Group, were significantly different, at .05 levels.

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อความสามารถในทักษะกางเขนและหกขนาน

               วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬายิมนาสติกศิลป์ชาย อายุ 13-15 ปี สังกัดโรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 16 คนได้มาโดยการเจาะจงเลือก และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน คือกลุ่มทดลองได้รับการฝึกทักษะกางเขนและหกขนาน ควบคู่กับการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และกลุ่มควบคุมรับการฝึกทักษะกางเขนและหกขนาน เพียงอย่างเดียว ทั้งสองกลุ่มใช้เวลาการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบความสามารถในทักษะกางเขนและหกขนาน ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ 4 และ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก

               ผลการวิจัย  1) ความสามารถในการทำทักษะกางเขน กลุ่มควบคุมก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.75,1.88 และ 2.25 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70, 0.83 และ 0.88 ตามลำดับ กลุ่มทดลองก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.88, 2.25 และ 4.75 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64, 0.46 และ 1.03 ตามลำดับ 2) ความสามารถในการทำทักษะหกขนาน กลุ่มควบคุมก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.87, 4.25 และ 4.88 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64, 0.70 และ 0.64 ตามลำดับ กลุ่มทดลองก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.75, 4.50 และ 6.50 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70, 0.53 และ 0.75 ตามลำดับ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทักษะกางเขนและทักษะหกขนานก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทักษะกางเขนระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทักษะหกขนานระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองพบว่าหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Full Paper as PDF