~~Purpose: To develop and study the effect of herbal facial skin care web application at Kanchanabhishek institute of medical and public health technology.
Methods: The sample consisted of 38 female college students of Kanchanabhishek institute of medical and public health technology, consisting a group talk of 8 people and trial of 30 people by using the web application for 1 week and assessing their knowledge before-after and assessing satisfaction.
Results: Female students Kanchanabhishek institute of medical and public health technology who search for herbal facial skin health care methods by internet, magazines, posters and social media which is not reliable not enough to meet the needs, not up-to-date, not interesting. This study has developed a web application of herbal facial skin care. Found that using web applications the average was 17.57 and after using the web application the mean was 24.90, which increased statistically significantly at 0.001, and the samples were satisfied with the overall use at a high level ( =4.37).
Conclusion: Herbal facial skin care web application can make users get more knowledge and a high level of satisfaction. Therefore, this app can be an alternative medium for those interested in taking care of facial health with herbs by themselves.
~~วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้เว็บแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพผิวหน้าด้วยสมุนไพรสำหรับนักศึกษาหญิงของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำานวน 38 คน เป็นสนทนากลุ่ม 8 คน และการทดลองใช้ 30 คน โดยให้ใช้เว็บแอปพลิเคชันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ แล้วประเมินความรู้ก่อน-หลัง และความพึงพอใจ
ผลการวิจัย: นักศึกษาหญิงของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ใช้วิธีการสืบค้นวิธีการดูแลสุขภาพผิวหน้าด้วยสมุนไพรด้วยอินเตอร์เน็ต นิตยสาร โปสเตอร์ และโซเซียลมีเดียต่างๆ ซึ่งมีความไม่น่าเชื่อถือ ไม่เพียงพอตามความต้องการ ไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพผิวหน้าด้วยสมุนไพรขึ้น โดยพบว่าความรู้ก่อนการใช้เว็บแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.57 และหลังใช้เว็บแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.90 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.37)
สรุปผล: เว็บแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพผิวหน้าด้วยสมุนไพร สามารถทำให้ผู้ใช้มีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจในการใช้ในระดับมาก ดังนั้นเว็บแอปพลิเคชันนี้จึงสามารถนำมาเป็นสื่อทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพผิวหน้าด้วยสมุนไพรด้วยตนเองได้