JOURNAL
STUDY KINEMATIC PARAMETERS OF THE DRAGON BOAT
การศึกษาตัวแปรทางไคเนเมติกของเรือมังกร

~~Purpose: To study the kinematic variables of dragon boat strokes of national team athletes between Thailand (TH) and Myanmar (MR) national team, in the International Dragon Boat Competition.
Methods: High-speed video cameras (420 Hz) captured paddlers’ strokes from the sagittal view during a male 500-meter event. Only the last 30 meters before the finish line, set up, high-speed video cameras on the shore in a static, not moving with the movement of the ship. Camera was away from buoys in the zone, (Divided into the red side and the blue side) for 50 meters distance and were selected to manually digitize. A stroke cycle was divided into 3 phases: entry, drive and exit phases. An independent t-test was used to compare kinematics parameters of dragon boat strokes.
Results: The results were showed that MR had a greater boat velocity (4.28 m/s) than TH boat (3.43 m/s). In one paddle, during the drive phase of TH and MR teams were approximately 34% and 58% of a cycle, mean that the MR paddle was longer in the water than the TH, the MR boat more energy to move it forward than the TH for the last 100 meters before the finish line. Both teams increased stroke frequency (SF). Although TH had more SF than MR, TH stroke length (SL) was significance less than MR (p<0.05).
Conclusion: MR had a greater drive phase could generate greater propulsive force than TH to move the boat than the TH, although TH used high stroke frequency but it couldn’t do distance as well as MR.
 

~~วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาตัวแปรทางไคเนเมติกจังหวะการพายเรือมังกรของนักกีฬาทีมชาติระหว่าง ทีมชาติไทย (TH) และทีมชาติเมียนมาร์ (MR) ในการแข่งขันเรือมังกรนานาชาติ
วิธีดำเนินการวิจัย: ใช้กล้องวิดีโอความเร็วสูงที่ความถี่ 420 Hz เพื่อจับภาพจังหวะการพายด้านข้างของนักกีฬา ในการแข่งขันประเภทชายในระยะทาง 500 เมตร การวิเคราะห์ผลใช้เพียงช่วง 30 เมตรสุดท้ายก่อนการเข้าเส้นชัย ได้ติดตั้งกล้องวิดีโอความเร็วสูงไว้ที่บริเวณชายฝั่งในลักษณะแบบติดนิ่ง ไม่ได้เคลื่อนไหวตามการเคลื่อนที่ของเรือ กล้องห่างจากทุ่นที่ใช้ในการแบ่งเขต (แบ่งระหว่างสายน้ำแดงและสายน้ำน้ำเงิน) เป็นระยะทาง 50 เมตร และใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการกำหนดตำแหน่งการเคลื่อนไหวด้วยมือทีละจุด และทีละภาพ จังหวะการพายแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ช่วงเตรียมพายหรือช่วงก่อนใบพายลงน้ำ ช่วงเดินพายหรือช่วงที่ใบพายลงน้ำ และ ช่วงใบพายพ้นน้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรในจังหวะการพาย
ผลการวิจัย: แสดงได้ว่าเรือมังกรของ MR มีความเร็ว (4.28 m/s) มากกว่าเรือมังกรของ TH (3.43 m/s) ในการพายหนึ่งครั้ง ในช่วงที่พายลงน้ำ ทีมTH ใช้เวลาเพียง 34 % ในขณะที่ MR ใช้เวลาถึง 58 % ซึ่งหมายความว่า พายของ MR อยู่ในน้ำนานกว่า TH  จึงทำให้เรือของ MR มีพลังงานในการทำให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ดีกว่าเรือของ TH  ในช่วง 100 เมตรสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย ทั้งสองทีมเพิ่มความถี่ในการพาย (SF) แม้นว่า TH จะมี SF มากกว่า MR  แต่ความยาวในการพาย (SL) ของ TH มีระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า MR (p<0.05)
สรุปผล: MR มีจังหวะการพายในน้ำที่ดี จึงเป็นผลให้สามารถสร้างแรงเพื่อทำให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ดีกว่า TH  ทั้งๆ ที่ TH ใช้จังหวะการพายที่มีความถี่มากกว่าแต่ก็ไม่สามารถทำระยะทางในการเคลื่อนที่ได้ดีเท่ากับ MR

Full Paper as PDF