~~Purpose: The purpose of this research was to study the sports-related motivation of disabled Thai national athletes.
Methods: Thirty-one participants participated in this study, who were selected by specific purposive sampling. Twelve were blind and disabled athletes and nineteen were athletes with spinal cord-related injuries. Data were collected by the questionnaire which was developed based on Maslow's Hierarchy of Needs and had a consistency of 0.95. The questionnaire was divided into 3 parts: the first section on personal data, the second section on the needs for sport motivation, and the third section on the open questions about the sport motivation of athletes. The data were analyzed and presented by frequency, percentage, mean, and standard deviation.
Results: The results found that the sport motivation of athletes with disabilities of Thai national was highest motivated by their need for dignity, from themselves and others (mean = 4.34). Followed by the need to know themselves, based on real conditions and related to developing their potential (mean = 4.33), aspect of ownership requirements and the need for love (mean = 4.27), on the needs of the body (mean = 4.23) and the safety requirement (mean = 4.14).
Conclusion: Athletics with disabilities of Thai national have a high level of overall motivation in sports with dignity motives from oneself and others, the aspect of knowing oneself as they truly are and developing one's potential, ownership, love, body and safety.
~~วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเล่นกีฬากรีฑาของนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คน เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นนักกรีฑาคนพิการทางสายตา จำนวน 12 คน และเป็นนักกรีฑาคนพิการทางแขน ขา และไขสันหลังโปลิโอ จำนวน 19 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์จากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95 แบบสอบถาม มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามแรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬากรีฑาของนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ตอนที่ 3คำถามปลายเปิดที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเล่นกีฬา นำข้อมูลมาหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเล่นกีฬาของนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย มีแรงจูงใจสูงที่สุดจากความต้องการมีศักดิ์ศรีจากตนเองและคนอื่น (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34) รองลงมา คือ ความต้องการที่จะรู้จักตนเอง ตามสภาพที่แท้จริงและพัฒนาศักยภาพของตน (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33) ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการด้านความรัก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27) ความต้องการทางด้านร่างกาย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) และความต้องความปลอดภัย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14)
สรุปผล: นักกีฬาคนพิการทีมชาติไทยมีแรงจูงใจโดยรวมในระดับสูงในการเล่นกีฬา โดยมีแรงจูงใจจากตนเองและผู้อื่น ด้านการรู้จักตนเองตามความเป็นจริงและพัฒนาศักยภาพ ความเป็นเจ้าของ ความรัก ร่างกาย และความปลอดภัย