~~Purpose: The objective of this research is to compare the effect of the SAQ training program on the physical fitness of leg muscle strength in athletics athletes. The experimental design was tested before training after the 12th week of training.
Methods: The subjects were athletics from Rajamangala University of Technology Thanyaburi, years 1-4, aged over 18 years, divided into control groups and experimental group, 15 persons in each group. The tools used in this research were physical fitness test And the SAQ training program to analyze the average data. Standard deviation and paired samples t-test were used at the statistical significance level of 0.05.
Results: The results showed that the average test of leg muscle strength before and after the athlete's experiment found that the strength of the leg muscles increased with statistical significance at the level of .05. From the data shown, it can be concluded that the SAQ training program increases the agility and strength of the leg muscles.
Conclusions: Training of athletes or those interested in bringing a training program to use as an athlete or athlete who is starting to practice athletics. To strengthen the leg muscles in an athlete and trainers can apply the SAQ training program to apply to other sports such as tennis, football, etc.
~~วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบ เอส เอ คิว ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬากรีฑา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักกรีฑามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้นปีที่ 1-4 ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และโปรแกรมการฝึกแบบเอส เอ คิว วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ paired samples t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยในการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ก่อนและหลังการทดลองของนักกรีฑา พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05 จากข้อมูลที่ปรากฏสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกเอส เอ คิวทำให้ความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น
สรุปผล: การฝึกสอนนักกรีฑาหรือผู้สนใจที่จะนำโปรแกรมการฝึกแบบ เอส เอ คิว ไปใช้กับนักกรีฑาหรือผู้ที่กำลังเริ่มฝึกเล่นกรีฑา เพื่อทำให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกรีฑา และผู้ที่ฝึกสอนสามารถนำเอาโปรแกรมการฝึกแบบ เอส เอ คิว นำไปประยุกต์ใช้กับชนิดกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น กีฬาเทนนิส กีฬาฟุตบอล เป็นต้น