~~Purpose: The purpose of this study was to construct the Chairball skill tests and normal assessments for Kasetsart University Sriracha Campus students.
Methods: Participants were 277 undergraduate students at Kasetsart University Sriracha Campus. There were two main instruments used in this study. The first instrument was a quantitative test which consisted of 3 items namely the skill of penalty throwing by using two hands at the chest level, the skill of throwing the ball into the basket by using two hands at the chest level, and the skill of two hands passing-receiving at the chest level. The second instrument was a qualitative test which consisted of 2 items namely the skill of penalty throwing by using two hands at the chest level, and the skill of passing the ball by using two hands at the chest level. Data were analyzed by using means, standard deviation, Pearson-product moment correlation coefficient, using raw scores and T-score for constructing the criteria.
Results: The content validities is 1.0. The reliability levels were 0.855, 0.788, 0.751, 0.908, and 0.888. The objectivity levels were. 0.967, 0.951, 0.930, 0.945, and 0.917. The normal assessments of the Chairball skill tests were divided into 5 levels which were excellent, good, moderate, relatively low, and low, respectively.
Conclusion: The conclusion is that the Chairball skill tests that were constructed by the researcher are appropriated to evaluate Kasetsart University students who enroll the Chairball for health course.
~~วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะและเกณฑ์ปกติของกีฬาแชร์บอล สำหรับนิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 277 คน ประกอบด้วย 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมืออันแรกแบบทดสอบทักษะกีฬาแชร์บอลเชิงปริมาณ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ทักษะการโยนโทษสองมือระดับอก ทักษะการโยนบอลเข้าตะกร้าสองมือระดับอก และทักษะการรับ-ส่งบอลสองมือระดับอก เครื่องมืออันที่สองประกอบด้วยแบบทดสอบทักษะกีฬาแชร์บอลเชิงคุณภาพ จำนวน 2 รายการ ได้แก่ ทักษะการโยนโทษสองมือระดับอกและทักษะการส่งบอลสองมือระดับอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียร์สัน ใช้ค่าคะแนนดิบและคะแนนที เพื่อสร้างเกณฑ์ของแบบทดสอบ
ผลการวิจัย: ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ทุกรายการ ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.855, 0.788, 0.751, 0.908, และ 0.888 ค่าความเป็นปรนัยมีค่าเท่ากับ 0.967, 0.951, 0.930, 0.945, และ 0.917 เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบทักษะแชร์บอล แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ดีมาก ดี พอใช้ ค่อนข้างต่ำและต่ำ ตามลำดับ
สรุปผล: สรุปผลได้ว่าแบบทดสอบทักษะกีฬาแชร์บอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปประเมินผลนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาที่เรียนวิชาแชร์บอลเพื่อสุขภาพ