~~Purpose: The purpose of this cross-sectional study was to assess air quality in the bus air conditioners including to identify the factors associated with Respiratory Tract Infection (RTI) of fare collectors in the bus air conditioners; Bangkok Mass Transit Authority (BMTA).
Methods: Data was collected from 421 fare collectors from BMTA. Air quality instruments and standardized questionnaires were used for collecting the data in the bus air conditioners. Descriptive statistics and inferential statistics were analysis. Pearson’s correlation coefficient and Spearman’s rank correlation were used to analyzing data.
Results: The findings revealed that air change rate, percentage of air volume into the bus air conditioner, temperature, wind speed, CO2 and CO, total airborne fungal spores and total bacteria concentration in the air were not passed the standards. The six influenced variables included educational level, air change rate, percentage of air volume into the bus air conditioner, total airborne fungal spores, Abnormal Index (AI), and stress significantly associated with Respiratory Tract Infection (RTI) of fare collectors in the bus air conditioners (P < 0.05).
Conclusion: Therefore, to manage the fare collectors healthy and work perfectly, furtherance and contribution systematic changing concretely in BMTA involved solving the air quality problems in the bus air conditioners were a good way to improve the quality of life of the fare collectors.
~~วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในรถโดยสารปรับอากาศรวมถึงหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของพนักงานเก็บค่าโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 421 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดทางด้านอากาศภายในรถโดยสาร และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัย: ผลการศึกษา พบว่า อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ ร้อยละปริมาตรอากาศที่เข้าสู่รถโดยสาร อุณหภูมิ ความเร็วลม คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ปริมาณเชื้อราโดยรวมในอากาศและแบคทีเรียโดยรวมในอากาศ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ระดับการศึกษา อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ ร้อยละปริมาตรอากาศที่เข้ารถ ปริมาณเชื้อราโดยรวมในอากาศ ดัชนีความผิดปกติความล้าทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ และความเครียดมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของพนักงานเก็บค่าโดยสาร (P < 0.05)
สรุปผล: ดังนั้น เพื่อบริหารจัดการให้พนักงานเก็บค่าโดยสารมีภาวะสุขภาพที่ดีและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบแบบรูปธรรมภายในองค์การ ขสมก. รวมถึงการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศภายในรถโดยสารปรับอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานเก็บค่าโดยสาร