~~Purpose: The purpose of this quasi-experimental research was to study and compare the effects of s m z running patterns on the agility of male table tennis players in primary school level.
Methods: The population consisted of thirty table tennis players in years ten to twelve in municipal schools in Pakphanang, Nakhon Si Thammarat. They were selected by match-paired sampling fifteen players into experimental and control groups using the illinois agility test. The research instruments were s m z running patterns program in eight weeks (Content validity = 1.00) and Illinois agility test (Reliability = 0.88). The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test statistic, one-way repeated measures and also a multiple comparison test using Bonferroni’s method and an independent t-test
Results: The experimental and control groups had agility after attending an eight-week program better than before at a statistically significant level of 0.05, and the experimental and control groups had no significant differences on agility after attending the eighth week of the program at a level of 0.05 level.
Conclusion: S M Z running patterns on the agility of male table tennis players at the primary school level the appropriateness and able to apply to develop table tennis players.
~~วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกวิ่งรูปแบบตัว เอส เอ็ม แซด ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาย ระดับชั้นประถมศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย: ประชากรเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาย จำนวน 30 คน ที่มีอายุ 10-12 ปี สังกัดโรงเรียนเทศบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ แล้วแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการจับคู่ กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมฝึกวิ่งรูปแบบ เอส เอ็ม แซด 8 สัปดาห์ (ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา = 1.00) และแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ (ค่าความเชื่อมั่น = 0.88) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคล่องแคล่วว่องไว หลังการฝึกโปรแกรมสัปดาห์ที่ 8 ดีกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคล่องแคล่วว่องไว หลังการฝึกโปรแกรมสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: รูปแบบการวิ่ง เอส เอ็ม แซด ต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาย ระดับชั้นประถมศึกษา เหมาะสมและสามารถนำไปพัฒนาในนักกีฬาเทเบิลเทนนิสได้