~~Purpose: The purpose of this research was to study and compare the effect of weight loss suit combination with exercise on physical fitness and metabolic rate in the male amateur boxing in Udon Thani Rajabhat University.
Methods: The samples consisted of 16 male amateur boxing athletes in Udon Thani Rajabhat University. They were divided into two groups, eight people per group: experimental group (Wear a sauna set) and control group (Not wear a sauna set). Data were collected by using bicycle ergometer (Time 30 minutes, intensity 1.5 kilograms, cadence 55-60 revolutions per minute). That measured before and after participating in the study. The obtained data were analyzed using analysis of mean, standard deviation, and t-tests at the statistical significance level at p < 0.05.
Results: Maximum oxygen consumption and heart rate during the exercise of the experimental group were significantly different from the control group at p < 0.05. Body composition of the experimental group was not significantly different from the control group at p < 0.05 when compared within the experimental group. And the metabolic rate during the exercise of the experimental group was not significantly different from the control group at p < 0.05 when compared between the experimental groups.
Conclusion: This study found that wearing a sauna at an intensity of 60-70 percent of the maximum heart rate cloud increase heart rate and decrease the maximum oxygen consumption, but it did not affect to the body composition.
~~วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของชุดซาวน่าร่วมกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย และอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะออกกำลังกายของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น อายุ 18-22 ปี จำนวน 16 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน คือ กลุ่มทดลอง (สวมชุดซาวน่า) และกลุ่มควบคุม (ไม่สวมชุดซาวน่า) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการปั่นจักรยานวัดงาน (เวลา 30 นาที ความหนัก 1.5 กิโลปอนด์ จังหวะ 55-60 รอบต่อนาที) ทำการทดสอบก่อนและหลังการฝึก และวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานหาค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย: อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นหัวใจขณะออกกำลังกาย ของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์ประกอบร่างกายของกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง และอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะออกกำลังกาย ของกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผล: จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การสวมชุดซาวน่าระดับความหนัก 60-70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และอัตราการการใช้ออกซิเจนสูงสุดลดลง แต่ไม่มีผลต่อองค์ประกอบร่างกาย