~~Purpose: To study the effect of leisure education program for promoting quality of life of upper elementary school students.
Methods: The research samples were 60 upper elementary school students grade 4-6 at Srithammaratsuksa Surat Thani school, Surat Thani province. They were selected by match-paired sampling the quality of life scale into experiment and control groups, 30 for each. The experiment group attended the leisure education program that was established by the researcher for 8 weeks. The control group attended the leisure activities of school. The research instruments for developing leisure education program were 1) the quality of life questionnaire related to leisure education program for promoting quality of life of upper elementary school students was approved by 5 leisure experts. Index of item-objective congruence was in the range of 0.6-1.0 as well as the Cronbach reliability was 0.90 and 2) the leisure education program for promoting quality of life of upper elementary school students was approved the appropriateness of the program manual by 5 leisure experts, and face validity was at 2.98.
Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and using Independent samples t-test and Dependent samples t-test.
Results: After attending the leisure education program, the quality of life of the experiment group got better than pre-attending at the significant level of statistics at .05. Moreover, after attending the leisure education program,
the experiment group had better changed quality of life than the control group.
Conclusion: The leisure education program for promoting quality of life of upper elementary school students which was established by the researcher processes the appropriateness and able to apply to the upper elementary school students.
~~วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4-6
จำนวน 60 คน จากโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้คะแนนแบบวัดคุณภาพชีวิตคัดกรองและใช้วิธีการสุ่มแบบจับคู่ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมการใช้เวลาว่างที่ทางโรงเรียนจัดให้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อสร้างโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างฯ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย
ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ อยู่ในช่วง 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่นของ Cronbach เท่ากับ 0.90 และ 2) โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรมฯ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ เท่ากับ 2.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบตัวแปรสองกลุ่มที่มีความเป็นอิสระและไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย: หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่าง นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลอง
มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุม
สรุปผล: โปรแกรมการศึกษาการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายได้