JOURNAL
THE DEVELOPMENT OF MUAY THAI FORCE METER
การพัฒนาเครื่องวัดแรงจากทักษะมวยไทย

~~Purpose: This research aimed to develop and determine the quality of a Muay Thai skill force meter.
Methods: The validity of this equipment was examined by two methods including content and concurrent validity test. Five experts were requested to evaluate the content validity in all aspects while correlation coefficient between the body weight scale and force meter was used to test the concurrent validity. The Muay Thai skill force meter reliability was tested and retested by measuring each participant’s kick. The trials were divided into two phases with a week interval. During the test, the participants were asked to kick the target three times. The highest force was then employed for correlation coefficient analysis. The design and development process has designed a computer program that is easy to use and selects to pressure sensor which converted the pressure signals into electrical signals enter the computer program to show the force of Muay Thai skills.
Results: The results of the Muay Thai force meter’s quality test were high content validity (IOC = 0.92) and high concurrent validity (r = 0.98). The reliability which measured by correlation-coefficient was also high (r = 0.89)
Conclusion: The force meter can be used to evaluate the efficiency of measuring Muay Thai skills force including kick, knee and elbow strikes.

~~วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพเครื่องวัดแรงในทักษะมวยไทย
วิธีการดำเนินการวิจัย: ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ทดสอบโดยสองวิธีคือทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตรงเชิงสภาพ  ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทำทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  ท่านทำการประเมินคุณภาพเครื่องมือในแต่ละด้านและความเที่ยงตรงเชิงสภาพโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทำการทดสอบมวลของร่างกายกลุ่มตัวอย่างจำนวน  10  คน จากเครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดแรงในทักษะมวยไทย ทดสอบความเชื่อมั่นโดยการทดสอบการเตะที่เครื่องวัดแรงในทักษะมวยไทย 2 ช่วง แต่ละช่วงทดสอบห่างกัน  1  สัปดาห์ การทดสอบแต่ละช่วงทำการเตะ  3  ครั้งนำครั้งที่ได้มากที่สุดมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ขั้นตอนการออกแบบและการพัฒนาเครื่องมือ ได้มีการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ง่ายต่อการใช้งานและเลือกใช้ตัวรับสัญญาณแรงดัน ทำการแปลงสัญญาณแรงดันเป็นสัญญาณไฟฟ้า เข้าสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลออกมาเป็นค่าแรงของทักษะมวยไทย
ผลการวิจัย: ผลการทดสอบคุณภาพเครื่องมือพบว่า ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC = 0.92) และค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (r = 0.98) อยู่ในระดับสูง ส่วนความเชื่อมั่น มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงเช่นกัน (r = 0.89)
สรุปผล: เครื่องวัดแรงในทักษะมวยไทยสามารถนำไปใช้ประเมินประสิทธิภาพในการวัดทักษะมวยไทยทั้งการชก เตะ เข่าและศอก ได้

Full Paper as PDF