~~Purpose: The research was to compare the athletics coping skills between professional football players with high and low performance levels.
Methods: The subjects were 176 professional football players who participated in the Thai League-4 (2018 Omsin League). All subjects were assessed for athletic coping skills inventory-28 consists of coping with adversity, coachability, concentration, confidence and achievement motivation, goal setting and mental preparation, peaking under pressure, and freedom from worry. Data were analyzed using the mean, standard deviation, percentage, Cronbach’s alpha coefficiency, and t-test independent. Test the significant level at 0.05.
Results: The professional football players who participated in the Saving League: Bangkok Metropolitan zone had a moderate score of coping skills. The athletics coping skills between top and bottom rank teams at the end of tournament were significance (P < 0.05), in the factor of goal setting - mental preparation and freedom from worry.
Conclusion: The athletics coping skills between top and bottom rank teams at the end of tournament were significance (P < 0.05). Therefore, it is a support the significant that when professional football athletes have different levels of coping skills, it is a tendency that sports performance will be different too. Professional football players with top rank teams will have more coping skills than professional football players with bottom rank team.
~~วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาในนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่เข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก 4 (ออมสินลีก ประจำปี 2561) ระหว่างนักกีฬาที่จัดอยู่ในทีมอันดับต้นและท้ายเมื่อสิ้นสุดรายการแข่งขัน
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการออมสินลีก โซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประจำปี 2561 รวมทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา-28 ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วย 7 ด้านคือ ด้านการจัดการกับปัญหา ด้านการยอมรับคำแนะนำ ด้านสมาธิ ด้านความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านการตั้งเป้าหมายและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ด้านการแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และด้านอิสระจากความกังวล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช และทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน ทดสอบระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัย: นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการออมสินลีก โซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่านักกีฬาฟุตบอลอาชีพของทีมที่อยู่ในอันดับต้นและท้ายเมื่อสิ้นสุดรายการแข่งขันมีทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาในด้านการตั้งเป้าหมายและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และด้านอิสระจากความกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
สรุปผล: ทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาระหว่างทีมอันดับต้นและท้ายเมื่อสิ้นสุดรายการแข่งขันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังนั้นจึงเป็นข้อสนับสนุนสำคัญว่าเมื่อนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีระดับทักษะการจัดการความเครียดทางกีฬาต่างกันมีแนวโน้มที่จะมีผลงานหรือการแสดงความสามารถทางกีฬาต่างกันด้วย ซึ่งพบว่านักกีฬาฟุตบอลอาชีพของทีมที่อยู่อันดับต้นของตารางแข่งขันมีทักษะการจัดการความเครียดทางกีฬาดีกว่านักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่อยู่ในอันดับท้ายของตารางแข่งขัน