JOURNAL
THE EFFECT OF HEALTH BEHAVIOR MODIFICATION PROGRAM APPLYING HEALTH INNOVATIVE PROMOTING PROCESS FOR THE RISK GROUP OF HYPERTENSION
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยกระบวนการสร้างเสริมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

~~The objective of this research was to study the effect of health behavior modification  program applying  Health Innovative Promoting Process for the risk groups of hypertension. A quasi-experimental research design was applied in this study for  investigating the effect of  health behavior modification program applying  health innovative promoting process for the risk group of hypertension. The  sample consisted  of 36 risk people of hypertension. They were selected through purposive sampling. The experimental was one group time series design.The assessments were conducted 3 times , 1 pre – test , 3 test during the experiments and 1 post – test within 4 month experimentation. The instrument of this  research was health behavior modification program consisting of 1)  food consumption behavior : health innovation including health flags menu and non – fat vegetable curry. 2) exercise behavior : health innovation including Thai dance with a combination of  Aerobic. 3) emotional management behavior and health innovations including relaxation  and   breathing to the tip of hands. 4)decreasing  and  avoiding smoking behavior : health innovations including manual , refusal skills  of  decreasing  and quitting smoking.  5)  decreasing and avoiding alcoholic drinks : health innovations including manual of  refusal skills  of  decreasing  and quitting drinking alcoholic drinks.
 Data collection tools were health behavior  surveillance form and physical measurement tools consisting of  blood pressure measurement tool ,waist  measurement band , weight and height measurement scales. The statistics used for analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation  and  One -way analysis of variance with repeated measure. Findings  showed that the sample group have changed their behavior  through health innovation promoting processes  with statistically significant  difference at  the 0.01 level. The waistline BMI and the blood pressure have decreased significantly at  the  0.01 level.
 

~~การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยกระบวนการสร้างเสริมนวัตกรรมสุขภาพเพื่อกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research)กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) แบบแผนการทดลองใช้รูปแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (One group time-series design)จำนวน 5 ครั้งโดยวัดผลก่อนการทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างการทดลอง 3 ครั้ง และหลังการทดลองประเมินผล 1 ครั้งระยะเวลา  4 เดือน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2  ส ประกอบด้วย 1) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร  นวัตกรรมสุขภาพได้แก่ เมนูชูสุขภาพ แกงผักรวมใจ ไร้ไขมัน  2) พฤติกรรมการออกกำลังกาย นวัตกรรมสุขภาพ ได้แก่ การรำวงผสมแอโรบิก 3) พฤติกรรมการจัดการอารมณ์ นวัตกรรมสุขภาพ ได้แก่ การผ่อนคลายลมหายใจสู่ปลายมือ 4) พฤติกรรมการลดและหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ นวัตกรรมสุขภาพได้แก่ คู่มือ ทักษะการปฏิเสธลด ละเลิก การสูบบุหรี่ และ 5) พฤติกรรมการลดและหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา นวัตกรรมสุขภาพได้แก่ คู่มือทักษะการปฏิเสธ ลด ละเลิก การดื่มสุรา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส  และเครื่องมือวัดทางกายภาพ ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต สายวัดรอบเอว เครื่องชั่งน้ำหนัก และที่วัดส่วนสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ One –way analysis of variance with repeated measures
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยกระบวนการสร้างเสริมนวัตกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่ารอบเอวค่าดัชนีมวลกายและค่าระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
 

Full Paper as PDF