~~The purpose of this research was to study the effect of health education activities applying group process on sexual risk preventive behavior of secondary school students in Nakhon Nayok Province. The study design was one group pre-test post-test design. The study samples were 32 secondary school students of a school in Nakhon Nayok Province who were willing to enroll in this study. Group process was applied in each health education activities of this study. Sexual risk preventive behavior consisted of knowledge, attitude and practice on sexual risk preventive behavior. The research instruments were health education activities applying group process and sexual risk preventive behavior questionnaires. Percentage, mean, standard deviation and dependent samples t-test were applied for data analysis. The results indicated that after participating in the health education activities, the students had significantly better knowledge, attitude and practice on sexual risk preventive behavior than before participating in the health education activities at the 0.01 level. Therefore, health education activities applying group process should be performed among these students for continued enhancing their appropriate sexual risk preventive behavior.
~~การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์กระบวนการกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดนครนายก รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษากลุ่มเดียวแบบทดสอบก่อนและหลัง (One group pre-test post-test design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก ที่ยินดีเข้าร่วมการศึกษานี้ จำนวน 32 คน การวิจัยนี้ได้มีการประยุกต์กระบวนการกลุ่มในแต่ละกิจกรรมสุขศึกษา โดยพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ กิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์กระบวนการกลุ่ม และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent samples t-test) ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมสุขศึกษา นักเรียนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศ ดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นควรจัดกิจกรรมสุขศึกษาโดยประยุกต์กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง